วันที่ 31 พ.ค. 2566 พ.อ. จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหม ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมเป็นประธาน
โดยที่ประชุม ให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ สร้างการรับรู้และความเข้าใจอันดีให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน ได้ทราบถึงภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบและการดำเนินการที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมกำลัง การใช้กำลัง เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยปรับปรุงโครงสร้างให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องตัว ทันสมัย เช่น
- การยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 ที่ดูแลภาคเหนือ ของกองทัพภาคที่ 3 โดยไม่มีการบรรจุกำลังพลเพิ่มและกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) ที่ จ.ขอนแก่น ของกองทัพบก การปรับลด กำลังทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,656 อัตรา
- การปรับลดนายทหารชั้นยศสูงเพื่อลดงบประมาณด้านกำลังพล โดยในห้วงปี 2570 ให้เหลือ 50% ตามแผนที่กาหนด
- การปิดการบรรจุกำลังพลและลดกาลังพลในปี2560-2564ไปแล้วกว่า8,000นาย สามารถประหยัด งบประมาณได้ จำนวน 1,500 ล้านบาท และเมื่อถึงปี 2570 จะสามารถปรับลดกำลังพลลง ได้ประมาณ 12,000 นาย และประหยัดงบกำลังพลลงได้ 2,900 ล้านบาทเศษ
- สำหรับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจาการ นั้น จำนวนที่ตรวจเลือกในแต่ละปี จะสอดคล้องกับโครงสร้างการจัดและภารกิจของกองทัพ โดยปัจจุบันมีความต้องการพลทหารปีละ ประมาณ 90,000 นาย จากเดิม ปีละ 1 แสนคน และกำลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้สมัครใจเข้าเป็นทหาร ประมาณ 35,000 นาย ถือเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาไปสู่การใช้ระบบการสมัครใจเข้าเป็นทหารได้ ในอนาคต
- การนำกำลังพลสำรองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวตามสัญญาจ้างระยะ 4 ปีการเตรียมการ บรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ และการเตรียมการด้านกำลังพลสำรอง เพื่อรองรับสถานการณ์ยามวิกฤตและยามสงคราม
รองโฆษกกระทรวงกลาโหม ยังระบุว่า ที่ประชุมได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่องสำคัญๆ ร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ระยะที่ 2 เพื่อให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนา
ศักยภาพกองทัพและเสริมสร้างหน่วยให้มีความสมบูรณ์ พร้อมรบ ในห้วงระยะ 5 ปี เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติซึ่งแผนพัฒนาขีดความสามารถ ฯ แบ่งกลุ่มการพัฒนาออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มดำรงสภาพความพร้อมรบ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในระดับความต้องการต่ำสุด และให้สิ่ง อุปกรณ์ของกองทัพสามารถใช้งานตามมาตรฐานของสิ่งอุปกรณ์นั้น รวมทั้งการจัดหาให้ครบตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์และการจัดหาทดแทน
2. กลุ่มขยายขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถของสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น
3. กลุ่มเสริมสร้างความทันสมัยโดย เพื่อให้มีสิ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยสอดคล้องกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและรูปแบบภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในที่ประชุมได้เน้นย้ำแผนการปฏิรูปกองทัพว่ามีการทำอย่างต่อเนื่องตามกรอบงบประมาณที่มีอยู่โดยคำนึงถึงความจำเป็น ในการดำรงขีดความสามารถระดับต่ำที่ต้องมีโดยพล.อ.ประยุทธ์ ได้ย้ำว่า นี่คือแผนของเราที่ทำอยู่แล้ว ไม่ได้เกี่ยวว่าใครจะมาหรือไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง